ธาตุและสารประกอบ (เข้าชม 477 ครั้ง)
ธาตุและสารประกอบ มนุษย์พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างของสารมาเป็นเวลานานจนในที่สุด จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแนวคิดว่า ถ้าแบ่งสารชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุด โดยแต่ละชิ้นยังคงสมบัติเติมของสารนั้นไว้เรียกหน่วยย่อยที่สุดว่า อะตอม
ถ้านำสสารชิ้นใดมาศึกษาสมบัติของแต่ละอะตอมแล้วปรากฏว่าเป็นอะตอมชนิดเดียวกันเรียกสสารชิ้นนั้นว่า ธาตุ 1. ธาตุ คือ สารประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นอนุภาคที่ย่อยกว่านี้ด้วยวิธีการทางเคมี เช่น เหล็ก ทองแดง เป็นต้น 2. สัญลักษณ์ของธาตุ เนื่องจากธาตุมีอยู่หลายชนิด จอห์น ดอลตัน จึงเสนอให้มีการใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนชื่อธาตุ ในปี พ.ศ. 2361 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ จาคอบ เบอร์ซีเลียส (Jacob Berzlius) เห็นว่าได้มีการค้นพบธาตุใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก การใช้รูปภาพไม่สะดวก จึงเสนอให้ใช้ตัวอักษรแทนชื่อธาตุ เพื่อให้สะดวกและมีความเป็นสากลมากขึ้น ควรใช้อักษรตัวต้นในภาษาอังกฤษหรือละตินเป็นสัญลักษณ์แทนอะตอมของธาตุ เพื่อไม่ให้สัญลักษณ์ซ้ำกันให้ใช้อักษรตัวรองหรือตัวถัดไปควบกับอักษรตัวต้นโดยเขียนตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับอักษรตัวต้น และใช้อักษรตัวเล็กสำหรับตัวรอง
ตารางแสดงชื่อธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิด
ธาตุและสารประกอบจัดเป็นสารเนื้อเดียว ซึ่งหมายถึงสารที่ประกอบด้วยธาตุเพียงชนิดเดียว สองชนิด หรือมากกว่าสองชนิดขึ้นไปผสมกันอย่างกลมกลืน จนมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ธาตุ คือ สารชนิดเดียวที่ไม่สามารถแยกหรือสลายออกไปเป็นสารอื่นได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามแหล่งที่มา ได้แก่ ธาตุที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติมีอยู่ 92 ธาตุ และธาตุที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลองอีกหลายธาตุ แต่เมื่อแบ่งธาตุตามสถานะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1. โลหะ โลหะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทชนิดเดียวที่มีสถานะเป็นของเหลว 2. อโลหะ อโลหะเป็นธาตุที่เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ดังแสดงในตารางธาตุ ธาตุอโลหะจะมีสมบัติตรงข้ามกับโลหะคือ เปราะ มีจุดเดือดต่ำและไม่นำไฟฟ้า มีทั้งหมด 21 ธาตุ ในจำนวน 21 ธาตุนี้มีเพียง 9 ธาตุที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ส่วนที่เหลืออีก 12 ธาตุมีสถานะเป็นแก๊ส 3. กึ่งโลหะ กึ่งโลหะ หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน มีลักษณะคล้ายของแข็งมีสีเงินวาว แต่เปราะง่ายคล้ายธาตุอโลหะ มีจุดเดือดสูงถึง 3,265 องศาเซลเซียส และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย ในภาวะปกติ ธาตุบางชนิดดำรงอยู่สถานะของแข็ง บางชนิดเป็นของเหลว และบางชนิดเป็นแก๊ส เราแบ่งธาตุทั้งหมดออกได้เป็นสามพวกใหญ่ ๆ คือ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ตัวอย่าง โลหะ และอโลหะที่เราพอรู้จักกันคือ
การที่เราจำแนกธาตุทั้งหลายออกเป็นโลหะกับอโลหะ ก็เนื่องจากธาตุต่าง ๆ แม้จะมีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน แต่ก็มีสมบัติบางประการเหมือนกันหรือคล้ายกัน พอจะแยกออกได้เป็น 2 พวก คือ โลหะกับ อโลหะ
ธาตุกัมมันตรังสีธาตุที่สามารถปล่อยรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี ส่วนปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี รังสีที่แผ่ออกมาจากสารกัมมันตรังสี อาจเป็นรังสีแอลฟา บีตา หรือแกมมา ซึ่งมีสมบัติต่าง ๆ กันดังนี้ รังสีแอลฟา ให้สัญลักษณ์เป็น ความสามารถทะลุทะลวงได้ต่ำ เพียงแผ่นกระดาษหนา แผ่นโลหะที่มีความหนาเท่ากับแผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆรังสีบีตา มีสัญลักษณ์เป็น มีความสามารถทะลุทะลวงได้มากกว่ารังสีแอลฟา 100 เท่า สามารถทะลุอะลูมิเนียมที่มีความหนา 1 เซนติเมตร หรืออากาศที่มีความหนาประมาณ 1 สามารถป้องกันการทะลุทะลวงของรังสีบีตาได้ รังสีแกมมา มีสัญลักษณ์เป็น มีสมบัติเหมือนกันกับรังสรเอกซ์ (รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง) เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับแสง มีกำลังทะลุทะลวงได้มากกว่า รังสีบีตา 100 เท่า
ประโยชน์บางประการของสารกัมมันตรังสี 1. คาร์บอน- 14 ประโยชน์ ช่วยหาอายุของโบราณวัตถุ 2. โคบอลท์-60 ประโยชน์ รักษาโรคมะเร็ง 3. ทองคำ-198 ประโยชน์ วินิจฉัยตับ 4. ไอโอดีน-125 ประโยชน์ หาปริมาณเลือด 5. ไอโอดีน-131 ประโยชน์ วินิจฉัยอวัยวะ 6. ฟอสฟอรัส–32 ประโยชน์ รักษาโรคมะเร็ง 7. โพแทสเซียม–40 ประโยชน์ หาอายุหิน 8. ยูเรเนียม–235 ประโยชน์ ให้พลังงาน การใช้กัมมันตภาพรังสีทางเกษตรกรรมการใช้กัมมันตภาพรังสีทางเกษตรกรรม เช่น การใช้ถนอมอาหาร วิเคราะห์ดิน เพื่อจำแนกพื้นที่เพาะปลุกให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตไข่ และน้ำนมสัตว์ ช่วยกำจัดแมลงและการกลายพันธุ์ของพืช1. การใช้รังสีรังสีที่นำมาใช้ถนอมอาหาร คือ รังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีที่มีกำลังทะลุทะลวงสูงเป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากธาตุกัมมันตรังสี เช่น โคบอลต์- 60 เนื่องจากรังสีมีกำลังทะลุทะลวงสูง หามใช้ปริมาณรังสีขนาดพอเหมาะจะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งเอนไซม์ในอาหารด้วย และไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยไม่มีพิษตกค้าง
ผลผลิตทางการเกษตรที่นำไปอาบรังสี ได้แก่ หัวหอมเล็ก หัวหอมใหญ่ แอปเปิล มันฝรั่ง ผลไม้หลายชนิด ขนาดของรังสีที่ใช้อาบ มีหน่วย เรียกว่า แรด์ (rad) หรือ เกร์ย โดยกำหนดว่า ผลจากการนำผลิตผลเกษตรไปฉายรังสีหรืออาบรังสี แสดงในตารางต่อไปนี้
ผลของการฉายรังสีที่ขนาดของรังสีขนาดรังสีต่าง ๆ
เทคโนโลยีการใช้รังสีในการถนอมรักษาอาหารและผลผลิตทางการเกษตร มีประโยชน์นานับประการ เช่น ยับยั้งการงอก ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงวันทอง ชะลอการสุกของผลไม้ การกำจัดโรค การยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แต่วิธีการใช้รังสีค่อนข้างซับซ้อน และการลงทุนในขั้นแรกค่อนข้างสูง การใช้กัมมันตรังสีทางอุตสาหกรรมใช้รังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ ตรวจสอบรอยเชื่อมของโลหะ การเชื่อมตัวเรือดำน้ำ การจัดความหนาของกระดาษ การวัดปริมาณซัลเฟอร์ในปิโตรเลียม เป็นต้น การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี ขึ้นกับปริมาณพลังงานของกัมมันตรังสีต่อมวลที่ถูกรังสีและสำคัญของส่วนที่ถูกกัมมันตภาพรังสีต่อการดำรงชีวิต ผู้ที่จะนำกัมมันตภาพรังสีไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าในการแพทย์ ทางการเกษตร ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ จะต้องมีความรู้ทางด้านกัมมันตรังสี เป็นอย่างดี รู้จักวิธีใช้ที่ปลอดภัย และวิธีป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีเหล่านั้นด้วย
|